analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “คนละครึ่งเฟส 5 กับ ความเป็นอยู่คนไทยในวันนี้ ”
สถานะทางการเงินปัจจุบันคนไทยเป็นหนี้เพิ่มสูงขึ้น
ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.5 ได้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 5
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 จะนำเงินโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ไปซื้อของแห้งมาตุนไว้
ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ช่วยลดภาระค่าครองชีพได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 ยังอยากขอให้รัฐมีโครงการคนละครึ่งเฟส 6 ต่อไป
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “คนละครึ่งเฟส 5 กับ ความเป็นอยู่คนไทยในวันนี้” โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,187 คน พบว่า
 
                  ปัจจุบันประชาชนร้อยละ 41.7 มีสถานะทางการเงินพอดีกับค่า
ใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม (ลดลงจากผลสำรวจเดือน ก.พ. 65 ร้อยละ 1.4)

ขณะที่ร้อยละ 39.4 มีสถานะทางการเงินไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4) ส่วนร้อยละ 18.9 มีสถานะทางการเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่าย
และมีเงินเก็บออม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0)
 
                  เมื่อถามว่าได้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 5 หรือไม่
ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.5 ได้ลงทะเบียน
ขณะที่ร้อยละ 40.5 ไม่ได้ลงทะเบียน
 
                  ทั้งนี้เมื่อถามผู้ลงทะเบียนว่าจะใช้เงินโครงการคนละครึ่งเฟส 5
ไปกับการใช้จ่ายในเรื่องใด พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.2 จะนำไปซื้อของแห้ง
มาตุนไว้เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง
รองลงมาร้อยละ 50.9 จะนำไปซื้อ
อาหารสด ของสด มาทำกินเองที่บ้าน และร้อยละ 49.2 จะนำไปซื้อของใช้ต่างๆ
 
                  เมื่อถามว่าโครงการคนละครึ่งเฟส 5 จะช่วยลดภาระค่าครองชีพ การใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต
ประจำวันได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 30.5
เห็นว่าช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  โครงการที่อยากขอแก่รัฐบาลให้มีต่อไป เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ช่วยกระตุ้น
เศรษฐกิจของประเทศพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 อยากขอให้มีโครงการคนละครึ่งเฟส 6
รองลงมาคือ โครงการ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คิดเป็นร้อยละ 35.9 และโครงการเราเที่ยวด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 11.6
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “ปัจจุบันจากสถานการณ์ต่างๆ ทั้งข้าวของแพง โควิด-19 ทำให้สถานะทางการเงิน
                  ของท่านเป็นอย่างไร”


 
สำรวจเดือน ก.พ. 65
(ร้อยละ)
สำรวจเดือน ส.ค. 65
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น / ลดลง
(ร้อยละ)
ยังเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
17.9
18.9
+1.0
พอดีกับค่าใช้จ่ายไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม
43.1
41.7
-1.4
ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม
39.0
39.4
+0.4
 
 
             2. ข้อคำถาม “ท่านได้ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งเฟส 5 หรือไม่”

 
ร้อยละ
ลงทะเบียน
59.5
ไม่ได้ลงทะเบียน
40.5
 
 
             3. ข้อคำถาม “คิดว่าจะใช้เงินโครงการคนละครึ่งเฟส 5 ไปกับการใช้จ่ายในเรื่องใด”
                   (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ซื้อของแห้งมาตุนไว้เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง
59.2
ซื้ออาหารสด ของสด มาทำกินเองที่บ้าน
50.9
ซื้อของใช้ต่างๆ
49.2
ซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เช่น ตามสั่ง ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว
40.8
ซื้อเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา
12.3
ซื้อเสื้อผ้า
3.5
ซื้อบุหรี่ แอลกอฮอล์
0.7
อื่นๆ อาทิเช่น อาหารสัตว์ บุหรี่ แอลกอฮอล์
1.2
 
 
             4. ความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 5 จะช่วยลดภาระค่าครองชีพ การใช้จ่ายในการ
                  ดำเนินชีวิตประจำวันได้มากน้อยเพียงใด (ถามเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 26.5 และมากที่สุด ร้อยละ 4.0)
30.5
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 57.8 และน้อยที่สุด ร้อยละ 11.7)
69.5
 
 
             5. โครงการที่อยากขอแก่รัฐบาลให้มีต่อไป เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ ให้แก่ประชาชน
                  ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
โครงการคนละครึ่งเฟส 6
60.3
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
35.9
โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
11.6
โครงการช้อปดีมีคืน
8.2
โครงการทัวร์เที่ยวไทย
7.3
อื่นๆ อาทิเช่น เพิ่มเงินผู้สูงอายุ ลดค่าไฟ ไม่มีที่อยากขอ ไม่มีความเห็น
17.0
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสถานะทางการเงินในปัจจุบันจากสถานการณ์ต่างๆ ทั้งข้าวของแพง โควิด-19
                  2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อโครงการคนละครึ่งเฟส 5
                  3) เพื่อสะท้อนถึงโครงการที่อยากขอแก่รัฐบาลให้มีต่อไป เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพ ให้แก่ประชาชน
                      ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 กันยายน 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
604
50.9
             หญิง
583
49.1
รวม
1,187
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
96
8.1
             31 – 40 ปี
176
14.8
             41 – 50 ปี
299
25.2
             51 – 60 ปี
332
28.0
             61 ปีขึ้นไป
284
23.9
รวม
1,187
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
745
62.7
             ปริญญาตรี
358
30.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
84
7.1
รวม
1,187
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
141
11.9
             ลูกจ้างเอกชน
255
21.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
503
42.3
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
25
2.1
             ทำงานให้ครอบครัว
2
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
216
18.2
             นักเรียน/ นักศึกษา
8
0.7
             ว่างงาน
37
3.1
รวม
1,187
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898